Where we are

MACO is Thailand

leading creative and innovative out of home media solution provider.

เจาะลึกข้อมูลแบบสำรวจจากผู้บริโภคทั่วโลก

เมื่อเจาะลึกลงไปในเทรนด์การช้อปปิ้งและพฤติกรรมของผู้บริโภค พบการเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่เห็นชัดจากการสำรวจครั้งก่อนที่ทำการสำรวจช่วงต้นปี 2565 เมื่อถามถึงความถี่ในการจับจ่าย (รายวัน รายสัปดาห์ ฯลฯ) ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาผ่านช่องทางต่างๆ ผู้บริโภคยังคงเลือกช้อปปิ้ง ณ ร้านค้า โดยมีสัดส่วนคงที่ที่ 43% รองลงมาคือการช้อปผ่านโทรศัพท์มือถือ และสมาร์ทโฟน (34%) ตามมาด้วยคอมพิวเตอร์ (23%)

จากที่ผ่านมาพบว่าเทรนด์หลายอย่างที่ได้รับความนิยมช่วงวิกฤตโควิดนั้นยังคงดำเนินต่อไปแม้สถานการณ์จะคลี่คลายลงแล้ว ถึงแม้การจับจ่ายในห้างสรรพสินค้าจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นแล้ว แต่จากข้อมูลต่างๆ แสดงให้เห็นว่าแนวโน้มการเติบโตในระยะยาวยังคงเหมือนเดิม โดยเมื่อสอบถามผู้บริโภคเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้จ่ายของพวกเขานั้นจะเปลี่ยนไปอย่างไรในอีก 6 เดือนข้างหน้า กว่า 43% กล่าวว่าพวกเขาวางแผนที่จะเพิ่มการซื้อของออนไลน์ ซึ่งลดลงจาก 50% จากสำรวจครั้งล่าสุด ในขณะเดียวกันสำหรับการวางแผนเพิ่มการจับจ่ายในร้านค้าจริงก็ลดลงอย่างมากเช่นกัน จากเดิม 33% เป็น 23%

บางทีสิ่งที่สำคัญที่สุดนั้นคือความคาดหวังและความต้องการที่จะสัมผัสในสภาพแวดล้อมของช็อปปิ้งของผู้บริโภค ทั้งทางกายภาพและทางดิจิทัลกำลังเปลี่ยนไป ซึ่งนี้เป็นหน้าที่ธุรกิจที่ต้องสร้างการพบปะกับผู้บริโภคทั้งในพื้นที่ที่จับต้องได้และบนโลกดิจิทัล เพื่อตอบสนองความคาดหวังที่เปลี่ยนแปลงไปของพวกเขา ตามผลการสำรวจที่ชี้ชัดว่า ผู้บริโภคจำนวนมากขึ้นกล่าวว่าพวกเขาต้องการให้ประสบการณ์การช้อปปิ้งทางกายภาพนั้นพัฒนาเรื่องการอำนวยความสะดวกและทำงานรวมกันกับดิจิทัลมากขึ้น หรือที่เรียกว่า Phygital

เมื่อผู้ตอบแบบสำรวจถูกขอให้จัดอันดับว่าปัจจัยใดจะช่วยยกระดับประสบการณ์การช้อปปิ้งในร้านค้าได้มากที่สุด กว่า 27% เลือกการเข้าถึงพนักงานขายที่มีความรู้และเป็นประโยชน์เป็นอันดับต้นๆ โดยมีครึ่งหนึ่งคือ Baby Boomers ในขณะเดียวกัน 16% ของผู้ตอบแบบสำรวจทั้งหมดกล่าวว่าความสามารถในการใช้ตู้ชำระเงินแบบบริการตนเองเป็นคุณลักษณะที่พวกเขาชื่นชอบมากที่สุด รองลงมา 15% การใช้เว็บไซต์หรือแอปบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ในร้านเพื่อเรียกดูผลิตภัณฑ์เฉพาะ ถัดมาที่ 12% คือความสามารถในการใช้เครื่อง “Scan-and-Go” 

อย่างไรก็ตามสำหรับสภาพแวดล้อมดิจิทัลที่กำลังถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเปิดตัวอย่างต่อเนื่องของ 5G หรือการรวมการช้อปปิ้งเข้ากับ Social Media Apps ดังนั้นจึงมีการให้ความสนใจอย่างมากกับสิ่งที่จะกลายเป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลขนาดใหญ่ในอนาคตอย่าง Metaverse ซึ่งเชื่อมั่นว่าจะลบความขัดแย้งมากมายระหว่างโลกดิจิทัลและโลกทางกายภาพ แต่อย่างไรก็ตาม Metaverse ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น และเต็มไปด้วยความขัดแย้งในตัวมันเอง ตามรายงานของ PwC สรุปได้ว่า Metaverse เป็นวิวัฒนาการไม่ใช่การปฏิวัติ และเป็นสิ่งที่ผู้นำธุรกิจไม่ควรละเลย

การสำรวจของเราพบว่าส่วนประกอบต่างๆ ของ Metaverse นั้นมีความพร้อมแล้วและผู้บริโภคกำลังสำรวจอยู่ พบว่ามากกว่าหนึ่งในสี่กล่าวว่าพวกเขามีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Metaverse ในช่วงหกเดือนที่ผ่านมาเพื่อความบันเทิง ประสบการณ์เสมือนจริง หรือ 26% ซื้อสินค้า ตัวอย่างเช่น 10% เคยใช้ชุดหูฟัง VR เพื่อเล่นเกมหรือชมภาพยนตร์ หรือทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงาน ยิ่งไปกว่านั้นพบว่าหลายๆคนเคยมีประสบการณ์ในสภาพแวดล้อมการค้าปลีกหรือคอนเสิร์ตแบบเสมือนจริง นอกจากนี้ 9% เคยซื้อโทเค็น NFT หรือ Non-Fungible 

โดยการใช้ Metaverse นั้นแตกต่างกันไปตามอายุและในแต่ละประเทศ ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจเลยที่คนอายุน้อยนั้นมีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วมกับ Metaverse มากขึ้น ตามข้อมูลประชากร 36% เป็นคนรุ่นมิลเลนเนียล และ 31% Gen Z เป็นผู้ใช้ metaverse อันดับต้นๆ ในขณะที่มีเพียง 8% ของกลุ่ม Baby Boomers และ 6% ของกลุ่มรุ่นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่ใช้ และประเทศที่มีเปอร์เซ็นต์สูงสุดของผู้ตอบแบบสอบถามที่กล่าวว่าพวกเขาใช้ Metaverse ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ได้แก่ อินเดีย (48%) และเวียดนาม (43%) ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรอายุน้อยและชนชั้นกลางเพิ่มขึ้น

* Global Consumer Insights Pulse Survey ล่าสุด จัดทำขึ้นในเดือนธันวาคม 2565 จากผู้บริโภค 9,180 รายใน 25 ประเทศ

ที่มา :  www.pwc.com