Where we are

MACO is Thailand

leading creative and innovative out of home media solution provider.

​แนวโน้มผู้บริโภคและอุตสาหกรรมค้าปลีกปี 2566

Omnichannel ช่องทางการช้อปปิ้งสำหรับ FMCG
จากข้อมูลของ NielsenIQ พบว่า 86% ของผู้ซื้อ ซื้อสินค้าทั้งในร้านค้าจริงและออนไลน์ ในขณะที่ 14% ซื้อสินค้าในร้านค้าจริงเท่านั้น นอกจากนี้พบว่าผู้บริโภคน้อยกว่า 1% ซื้อสินค้าทางออนไลน์เพียงอย่างเดียว ซึ่ง omnichannel คือพฤติกรรมถาวรและเป็นรูปธรรมของผู้บริโภค  โดยผู้บริโภคทั่วโลก 30% ระบุว่าตอนนี้พวกเขามีการจัดลำดับความสำคัญที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อของพวกเขา และ 59% กำลังประเมินลำดับความสำคัญใหม่ 

Social commerce 
ในปี 2566 Social commerce นั้นถูกคาดการณ์ว่าจะมียอดขายสูงถึง 30.73 พันล้านดอลลาร์หรือคิดเป็น 20% ของยอดขายอีคอมเมิร์ซค้าปลีกทั่วโลก และจำนวน 75% ของผู้ค้าปลีกนั้นขายบนโซเชียลมีเดียอยู่แล้ว โดยมีทั้งหน้าร้านบนโซเชียลและหน้าร้านจริง นอกจากนี้การตลาดที่ใช้อินฟลูเอนเซอร์ได้กลายเป็นกลยุทธ์การกำหนดเป้าหมายของผู้ชมออนไลน์ที่เหมาะสม และเป็นการโฆษณาเชิงบวกที่สร้างผลตอบแทนได้อย่างรวดเร็ว เนื่องด้วยประสิทธิภาพของวิดีโอแบบ User Generate Content นั้นที่มีมากกว่ากว่าวิดีโอของแบรนด์ถึง 22% 

ประสบการณ์ส่วนบุคคลจะช่วยปรับปรุงอัตรา Conversion ได้เป็นอย่างมาก
60% ของนักช้อปกล่าวว่า เขามีแนวโน้มที่จะเป็นลูกค้าประจำมากขึ้น เมื่อได้รับการนำเสนอประสบการณ์การช้อปปิ้งที่เป็นส่วนตัว ดังนั้นผู้ค้าปลีกจึงควรทำความเข้าใจถึงความจำเป็นของประสบการณ์ดังกล่าว เพื่อรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันในพื้นที่ค้าปลีกที่มีความอิ่มตัวสูง โดยในปี 2565 จำนวน 74% ของบริษัทอีคอมเมิร์ซมีโปรแกรมปรับแต่งเว็บไซต์ให้เหมาะกับแต่ละบุคคล ที่ลงทุนในการดูแลจัดการประสบการณ์ที่เป็นส่วนตัวสูงในจุดบริการลูกค้าที่สำคัญๆ 

การรีวิวและการให้คะแนนของผู้บริโภคมีอิทธิพลต่อการซื้อมากกว่าส่วนลด
ในการสำรวจความคิดเห็นของ LinkedIn ที่ดำเนินการโดย Intelligence Node พบว่า 41% ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่าพวกเขาพบว่าคำวิจารณ์และการให้คะแนนของผู้บริโภคเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดสำหรับการซื้อสินค้าทางออนไลน์ เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว มีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนเพียง 20% ที่กล่าวว่าราคาต่ำถือว่าสำคัญที่สุด นักช้อปยุคใหม่ต้องการฟีเจอร์ต่างๆ เช่น การซูม มุมมองแบบ 360 องศา ความสามารถในการลองผ่าน AR การแสดงคำอธิบายโดยละเอียด และการรีวิว ซึ่งจากการวิจัยพบว่า มุมมองแบบ 3D ของผลิตภัณฑ์สร้างการมีส่วนร่วมมากกว่าภาพนิ่งถึง 50% นอกจากนี้จากการศึกษาอื่นๆยังพบว่า 80% ของลูกค้า Gen Z เปลี่ยนใจหลังจากอ่านบทวิจารณ์เชิงลบ

Metaverse กำหนดอนาคตของการตลาดค้าปลีก
นับตั้งแต่เปิดตัว Metaverse ในปี 2565 ผู้ค้าปลีกได้ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เสมือนจริง ทดลองกลยุทธ์การตลาดใหม่ๆ และสร้างพื้นที่ใหม่สำหรับการมีส่วนร่วมกับผู้บริโภค Gen Z ที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี โดย 74% ของผู้ใหญ่ในสหรัฐอเมริกายอมจ่ายเงินสูงถึง 1,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับอุปกรณ์ VR เพื่อเข้าร่วม metaverse ในทำนองเดียวกัน การใช้จ่ายทั่วโลกสำหรับ AR/VR จะเพิ่มขึ้นเป็น 72.8 พันล้านดอลลาร์ในปี 2567

อย่างไรก็ตาม 51% ของผู้ใช้ metaverse ทุกวันนี้ มีอายุอย่างน้อย 13 ปี ซึ่งบอกถึงโอกาสที่ไม่เหมือนใครในการเริ่มระบุและสร้างกลุ่มผู้ชมในอนาคตสำหรับแบรนด์ และคาดว่าตลาด metaverse จะมีมูลค่ามากกว่า 800 พันล้านดอลลาร์ในปี 2567 โดยเติบโตที่อัตราการเติบโตต่อปี (CAGR) มากกว่า 13% และด้วยจำนวนผู้ใช้งาน 400 ล้านรายต่อเดือนในปี 2565 จึงมีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2569 ผู้คน 25% จะใช้เวลาหนึ่งชั่วโมงหรือมากกว่านั้นกับ metaverse ทุกวัน

ความต้องการแบรนด์ส่วนตัวจะยังคงเติบโต
เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากลูกค้า จำนวนแบรนด์ส่วนตัวจึงเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา private-label brands หรือ แบรนด์ที่มีร้านค้าปลีกต่างๆ เป็นเจ้าของแบรนด์ และจะวางขายเฉพาะในช่องทางของตัวเองเท่านั้น เคยถูกมองว่าเป็นทางเลือกที่มีคุณภาพต่ำกว่าหรือถูกกว่า แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้นอีกต่อไป ทุกวันนี้ private-label brands สามารถอยู่ในกระแสนิยม ราคาไม่แพง และแข่งขันได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายทางการตลาดที่ปกติแล้วเกี่ยวข้องกับแบรนด์คู่ขนาน

การสำรวจทั่วโลกพบว่าในขณะที่ 45% ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่าราคาเป็นสาเหตุหลักในการเปลี่ยนไปใช้ private-label brands แต่ปัจจุบัน 58% เชื่อว่าพวกเขาให้คุณภาพที่ใกล้เคียงกันหรือดีกว่าแบรนด์ระดับประเทศ

การค้าปลีกจะกลายเป็นที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลและ AI มากขึ้นเรื่อยๆ
ปัจจุบันลูกค้ามีทางเลือกมากมาย สิ่งนี้ได้เพิ่มความคาดหวังที่ผู้บริโภคต้องการจากผู้ค้าปลีก ซึ่งการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ดีเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะเปลี่ยน จูงใจ หรือรักษานักช้อปในปัจจุบันได้อีกต่อไป ตั้งแต่การชำระเงินที่ไร้รอยต่อ การจับคู่ราคา และเนื้อหาที่มีส่วนร่วมสูง ไปจนถึงการจัดส่งและส่งคืนที่ตรงเวลา  รวมถึงประสบการณ์ส่วนบุคคล ลูกค้าก็คาดหวังประสบการณ์ที่ราบรื่น ไม่ยุ่งยาก และเข้าถึงง่ายได้ในทุกช่องทาง

การมอบประสบการณ์ที่เหนือระดับเหล่านี้ จึงจำเป็นต้องอาศัยความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภค ความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลและเทคโนโลยี AI จะมีความสำคัญอย่างยิ่งในการตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าที่พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ผู้ค้าปลีกจำเป็นต้องตรวจสอบข้อมูลลูกค้า วิเคราะห์ตลาดและแนวโน้มของผู้ซื้อ ปรับราคาให้เหมาะสมตามการเคลื่อนไหวของราคาของคู่แข่ง การจัดอันดับสินค้า การปรับปรุงการจัดส่งและการดำเนินการตามคำสั่งซื้อ และจัดการปัจจัยอื่นๆ มากมายเพื่อดึงดูดลูกค้าและรักษาไว้ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ ซึ่ง AI และระบบอัตโนมัติจะมีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จที่ได้กล่าวมา

ที่มา : www.netscribes.com