Where we are

MACO is Thailand

leading creative and innovative out of home media solution provider.

กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค

เรื่องการโฆษณา ประกอบด้วยการใช้ภาพ ข้อความในสื่อใดสื่อหนึ่ง ทั้งนี้ข้อบังคับในการโฆษณา เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้เข้าใจอย่างถูกต้อง และเป็นผลดีกับผู้ประกอบการ เราจึงนำข้อมูลกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค (เรื่องการโฆษณา) ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาให้ได้รู้จักกันค่ะ


มาตรา 22 การโฆษณาจะต้องไม่ใช้ข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือใช้ข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม ทั้งนี้ไม่ว่าข้อความดังกล่าวนั้นจะเป็นข้อความที่เกี่ยวกับแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ หรือลักษณะของสินค้าหรือบริการ ตลอดจนการส่งมอบ การจัดหา หรือการใช้สินค้าหรือบริการ


ข้อความที่เป็นการละเมิดสิทธิผู้บริโภค โดยแยกออกได้ใน 4 ลักษณะ ดังนี้

ลักษณะที่ 1 ข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง

ลักษณะที่ 2 ข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการไม่ว่าจะกระทำโดยใช้หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการ สถิติ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันไม่เป็นความจริงหรือเกินความจริง หรือไม่ก็ตาม

ลักษณะที่ 3 ข้อความที่เป็นการสนับสนุนโดยตรงหรือโดยอ้อมให้มีการกระทำผิดกฎหมาย

ลักษณะที่ 4 ข้อความที่จะทำให้เกิดความแตกแยกหรือเสื่อมเสียความสามัคคีในหมู่ประชาชน

ลักษณะที่ 5 ข้อความอย่างอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
การโฆษณาสินค้าหรือบริการที่ใช้อ้างอิงข้อเท็จจริง เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

การโฆษณาสินค้า หรือบริการที่ระบุหรือประกาศว่า ผู้ประกอบธุรกิจจะจัดให้มีการแถมที่พักหรือรางวัลด้วยการเสี่ยงโชค

การโฆษณาขายห้องชุด บ้านจัดสรร ในหนังสือพิมพ์ สื่อสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือป้ายโฆษณา เป็นต้น

การโฆษณาเกี่ยวกับการจัดให้มีการลด แจก แถมของรางวัลของ ผู้ประกอบธุรกิจ คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณามีการออกข้อกำหนด หลักเกณฑ์ที่ผู้ประกอบ ธุรกิจต้องปฏิบัติตาม

โดยการโฆษณานี้มีการใช้ข้อความโฆษณาที่ คณะกรรมการฯเห็นว่า เป็นการฝ่าฝืน คือ “ตั้งแต่วันนี้หรือจนกว่าสินค้าจะหมด” เนื่องจากข้อความดังกล่าว ไม่ถือว่า เป็นระยะเวลาเริ่มต้นหรือสิ้นสุดในการจัดให้มีของแถม และการจะยกข้อความดังกล่าวขึ้น มาเป็นข้ออ้างใน การที่จะยกเว้นความผิดของผู้ประกอบธุรกิจ ไม่ได้เช่นกัน

เช่น การโฆษณารถยนต์ยี่ห้อหนึ่ง โดยจัดให้มีการเสี่ยงโชคเพื่อรับรางวัล คือ รถยนต์ บัตรกำนัลและของอื่นๆอีกมากมาย แต่บริษัทไม่กำหนดวันเริ่มต้นและสิ้นสุดของการเสี่ยงโชคในการประกอบกิจการค้า และไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานกฎหมายว่าด้วยการพนัน ถือว่าเป็นการโฆษณาที่ไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภค

การโฆษณาที่มีข้อความโฆษณาสินค้าหรือบริการ รวมทั้งเครื่องหมายการค้าหรือ เครื่องหมายอื่นๆ ของผู้ประกอบธุรกิจ ที่รวมอยู่กับข้อความที่ถวายพระพรหรือข้อความอย่างอื่นที่อ้างอิงเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์นั้น 

คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาได้มีการออกกฎกระทรวงห้ามไม่ให้ผู้ประกอบธุรกิจดำเนินการตามข้อกำหนดดังกล่าว

แต่ผู้ประกอบธุรกิจสามารถที่จะระบุชื่อของผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ประพันธ์ข้อความ ดังกล่าวได้



มาตรา 23 การโฆษณาจะต้องไม่กระทำด้วยวิธีการอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ร่างกายหรือจิตใจ หรืออันอาจก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้บริโภค ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง



ที่มา: พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522