Where we are

MACO is Thailand

leading creative and innovative out of home media solution provider.

แพลตฟอร์มการโฆษณาปรับตัวสู่ Metaverse ได้อย่างไร?


แม้ในขณะนี้คำว่า Metaverse จะยังไม่มีคำจำกัดความที่แท้จริงและจะยังคงไม่มีไปชั่วขณะหนึ่ง แต่แบรนด์ต่างๆ กำลังเริ่มไตร่ตรองถึงกลยุทธ์ Metaverse ของตนแล้ว และเอเจนซี่เองก็กำลังกำหนดแนวทางปฏิบัติใหม่ๆ เพื่อช่วยให้พวกเขาไปถึงที่จุดมุ่งหมาย

เมื่อถึงเวลา Metaverse จะเปิดโอกาสใหม่ๆ ให้กับผู้ลงโฆษณาอย่างไม่ต้องสงสัย และไม่ว่าผู้ลงโฆษณาจะไปที่ใด เทคโนโลยีโฆษณาก็จะตามมาในไม่ช้า ดังนั้นความท้าทายและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับ Metaverse มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดบริษัทเทคโนโลยีโฆษณารูปแบบใหม่ โดยแต่ละบริษัทจะสามารถสร้างโซลูชันใหม่ๆ เพื่อช่วยแบรนด์ในการออกแบบ กำหนดเป้าหมาย ปรับใช้ และประเมินผลการใช้งาน Metaverse

เทคโนโลยีการเล่นเกมที่รองรับ Metaverse
เทคโนโลยีโฆษณาบางอย่างที่เราน่าจะเห็นว่ามีการปรับใช้ใน Metaverse ไม่จำเป็นต้องดูแตกต่างไปจากที่ถูกใช้ในการเปิดใช้งานเกมในปัจจุบันมากเกินไป

ซึ่งเห็นได้ชัดว่าเครื่องมือที่อนุญาตให้แทรกโฆษณาแบบรูปภาพหรือวิดีโอในสภาพแวดล้อมของเกมเกือบจะมีที่ใน Metaverse กันหมดอยู่แล้ว เครื่องมือเหล่านี้ปัจจุบันใช้เพื่อแทรกโฆษณาแบบเป็นโปรแกรมลงในพื้นที่ธรรมชาติในโลกของเกม ตัวอย่างเช่น ป้ายโฆษณาที่จะทำหน้าที่คล้ายคลึงกันในโลกเสมือนจริง อันที่จริงบริษัทเหล่านี้ส่วนใหญ่ต่างมีความทะเยอทะยานและเปิดใจที่จะเข้าสู่โลกของ Metaverse อยู่แล้ว

อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีจะเติบโตและมีความซับซ้อนมากขึ้น เมื่อต้องถูกปรับให้เข้ากับโลกของ Metaverse ซึ่งกรณีที่จะถูกพบบ่อยที่สุดในปัจจุบันคือป้ายโฆษณาในเกม ซึ่งบางอันมีการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่สามารถใส่เรื่องของ branding ลงในไอเท็มของเกมได้ แต่บ่อยครั้งที่การเปิดใช้งานเหล่านั้นยังคงอาศัยการทำงานแบบ manual อยู่บ่อยครั้ง

Metaverse จะนำเสนอแหล่งที่มาของสินค้าคงคลังที่หลากหลายมากขึ้น ลองนึกถึงหน้าจอทีวีแบบเสมือนจริง นิตยสาร วิทยุ และสื่อใหม่อื่นๆ ที่ไม่ได้มีอยู่บนโลกแห่งความเป็นจริง ดังนั้นเครื่องมือที่มีอยู่เหล่านี้จึงมีแนวโน้มที่จะถูกขยายให้ครอบคลุมรูปแบบของการโฆษณาอย่างกว้างขึ้น

Jakub Chmielniak ผู้ร่วมก่อตั้ง Fanadise บริษัทที่สร้าง 'utility NFTs' สำหรับ metaverse กล่าวว่า "เมื่อการค้าปลีกในโลกของ Metaverse กลายเป็นสิ่งสำคัญ สิ่งนี้จะทำให้มีพื้นที่โฆษณาใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย “ลองจินตนาการถึงภาพห้างสรรพสินค้าดิจิทัลที่แบรนด์ต่างๆ สามารถโต้ตอบกับนักช้อปดิจิทัลผ่านชุดหูฟัง VR ดังนั้นใน Metaverse จึงเกิดพื้นที่มากมายสำหรับโฆษณา 3D รูปแบบใหม่โดยเฉพาะ”

แม้กระทั่งโฆษณาประเภทป้ายบิลบอร์ดที่เทคโนโลยีก็อาจจะไม่สามารถตอบโจทย์การทำงานเหมือนในทุกวันนี้ได้ โดยปัจจุบันบริษัทด้านเทคโนโลยีต่างกำลังแข่งขันกันและทำข้อตกลงกับผู้พัฒนาและผู้เผยแพร่เกม เพื่อให้เข้าถึงเทคโนโลยีต่างๆ ได้

แต่อย่างไรก็ตาม Metaverse จะไม่ถูกครอบครองจากพื้นที่ส่วนกลาง และจะไม่มีใครเป็นเจ้าของป้ายโฆษณาทั้งหมด แต่พื้นที่นั้นๆ จะตกเป็นของผู้เล่นและเจ้าของที่ดินเสมือนจริงหลายๆ คน หรือบางทีอาจจะถึงขั้นสภาท้องถิ่นเสมือนจริงและบุคคลทั่วไปอีกด้วย ซึ่งนี้อาจเป็นการเปิดช่องให้เครือข่ายโฆษณาขายพื้นที่โฆษณานี้ และ/หรือเทียบเท่ากับบริษัทในโลกแห่งความเป็นจริง ซึ่งสามารถให้ข้อมูลและเครื่องมือในการวางแผนสำหรับสื่อโฆษณากลางแจ้งได้

ในท้ายที่สุด เนื่องจากโซลูชันเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อทำงานร่วมกับระบบนิเวศเทคโนโลยีโฆษณาในปัจจุบันและดูเหมือนว่าพื้นที่โฆษณาที่พวกเขานำเสนอจะพร้อมใช้งานผ่านพาร์ทเนอร์แบบเป็นโปรแกรมเดียวกันกับในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น DSP ที่เสนอโฆษณาผ่านเกมซึ่งปัจจุบันสามารถเชื่อมต่อกับคลัง Metaverse จากซัพพลายเออร์เดียวกันได้

สำหรับเทคโนโลยีโฆษณา Metaverse อื่นๆ จะมีบทบาทที่คล้ายคลึงกับผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ แต่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนที่สำคัญกว่ามาก ซึ่งหมายความว่าจะมีพื้นที่มากขึ้นสำหรับผู้เล่นใหม่ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านเหล่านี้ตัวอย่างเช่น การวัดปริมาณยอดผู้เข้าชมถือเป็นความท้าทายบนโลก Metaverse ซึ่งมีความแตกต่างเมื่อเทียบกับโฆษณาวิดีโอหรือภาพนิ่งทั่วไป

อย่างไรก็ตามในอีกด้านหนึ่ง มันจะยิ่งยากมากยิ่งขึ้นในการกำหนดคำจำกัดความมาตรฐานสำหรับความสามารถในการแสดงผลของโฆษณา เนื่องจากตัวแปรต่างๆ ที่เล่นมีช่วงกว้างกว่ามาก สำหรับสภาพแวดล้อมของโลก Metaverse แบบ 3D ซึ่งมีปัจจัยหลายหลากรวมไปถึง ระยะห่างของผู้ชมกับโฆษณา หรือการที่โฆษณาอาจถูกบดบังด้วยวัตถุอื่นหรือไม่ และต้องพิจารณาว่าผู้ชมมีการเคลื่อนที่ผ่านโฆษณานั้นๆ เร็วเพียงใด

ทั้งนี้ในทางกลับกัน บริษัททางด้านเทคโนโลยีอาจมีความเข้าใจมากขึ้นว่าผู้ใช้ให้ความสนใจกับโฆษณามากเพียงใด ซึ่ง Financial Times ได้ออกมารายงานเมื่อต้นปีนี้ว่า Meta กำลังทำงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีการติดตามเรื่องของจำนวนผู้รับชม หรือ Eyeball tracking ซึ่งสามารถบอกผู้โฆษณาได้อย่างชัดเจนว่าแต่ละบุคคลใช้เวลาดูโฆษณานานเท่าใด เทคโนโลยีเดียวกันนี้สามารถนำไปใช้นอกเหนือจากรูปแบบโฆษณามาตรฐานได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น การติดตามว่าบุคคลต่างๆ ให้ความสนใจกับโลโก้ของแบรนด์มากเพียงใดจากประสบการณ์ภายในของการเปิดใช้งาน Metaverse ในความเป็นจริงแล้วการวัดผลโดยรวมจะดูแตกต่างกันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากการตลาดแบบ Metaverse ซึ่งจะเน้นที่ประสบการณ์และการมีส่วนร่วมเป็นส่วนมาก

โลกใหม่...ของเทคโนโลยีด้านการโฆษณา
แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกบริษัทด้านเทคโนโลยีการโฆษณาทั้งหมดของ Metaverse ที่จะทำงานความคล้ายคลึงหรือสอดคล้องกับเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิม จึงทำให้แน่ใจว่าจะได้เห็นบริษัทประเภทใหม่ๆ ที่จะออกแบบพื้นที่ของตัวเอง เพื่อให้เข้ากับคุณสมบัติเฉพาะของ Metaverse

ด้วยธรรมชาติของประสบการณ์บนโลก Metaverse จึงเป็นไปได้ที่จะสามารถคาดการณ์หมวดหมู่บางส่วนได้ ตัวอย่างเช่น จะมีเครื่องมือสำหรับสร้างรายการแบรนด์เสมือนอย่างง่ายดาย รวมถึงประสบการณ์ Metaverse เอเจนซี่ยังคงมีบทบาทสำคัญในที่นี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการออกแบบประสบการณ์ตามความต้องการ แต่แพลตฟอร์มเทคโนโลยีจะเข้ามาสร้างและจัดวางประสบการณ์เหล่านี้อย่างอัตโนมัติ
Matthew Warneford CEO และผู้ก่อตั้งสตูดิโอเกม Dubit กล่าวว่า “เราคิดว่าการโฆษณาบนโลก Metaverse ไม่ควรเกี่ยวข้องกับการจำลองโฆษณาแบบ 2D บนโลก 3D นั่นคือไม่มีใครต้องการให้โฆษณาแบนเนอร์ปรากฏขึ้นในพื้นที่เหล่านี้ แต่แบรนด์ต่างๆ ควรหันมาสร้างโลกที่มีเอกลักษณ์ของตนเองใน Metaverse นี่ถือเป็นโอกาสที่จะแบรนด์จะสร้างพื้นที่ที่ทำให้ผู้คนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมเยี่ยมชมหรือเพื่อเสพความบันเทิงได้ ฯลฯ ซึ่งต่างจากแคมเปญโฆษณาแบบเดิมๆ ที่ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาถึง 6 เดือน แต่ควรสามารถใช้เวลาเพียงแค่ไม่กี่สัปดาห์”

อย่างไรก็ตามมีความมั่นใจว่าจะได้เห็นรูปแบบของการวัดผลใหม่ทั้งหมดสำหรับแคมเปญประเภทนี้อีกด้วย หากแบรนด์มีไอเท็มที่เป็น NFT ซึ่งจะทำให้วัดได้ว่าใครรับชมผ่านข้อมูล NFT เหล่านี้ซึ่งค่อนข้างตรงไปตรงมา แต่แบรนด์ต่างๆ จะยังต้องการทราบว่าผู้ใช้มีส่วนร่วมกับรายการเหล่านี้อย่างไร ตัวอย่างเช่น คำถามคือหากแบรนด์สร้างเสื้อยืดเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญ มีกี่คนที่ใส่มันจริงๆ แทนที่จะแค่เป็นเจ้าของ ซึ่งประสบการณ์เหล่านี้ยังคงต้องการการวัดผลในรูปแบบต่างๆ ซึ่งอาจขยายออกไปมากกว่าจำนวนที่เข้าถึงได้

ทั้งนี้การโต้ตอบจะเป็นตัวชี้วัดหลัก โดยวัดว่าส่วนใดของการเปิดใช้งาน Mverse ที่ผู้บริโภคเข้ามามีส่วนร่วมและใช้เวลาด้วย สำหรับการวัดการตอบสนองทางอารมณ์ของผู้บริโภคเป็นสิ่งที่ Meta กำลังดำเนินการอยู่ นี้อาจกลายเป็นวิธีทั่วไปที่ใช้ในการประเมินผลประสิทธิภาพของแคมเปญก็เป็นได้

ที่มา : https://videoweek.com