Where we are

MACO is Thailand

leading creative and innovative out of home media solution provider.

แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียช่วยเหลือผู้ใช้งานอย่างไรท่ามกลางวิกฤตโควิด-19

เมื่อเทคโนโลยีกลายเป็นสะพานเชื่อมต่อความสัมพันธ์ในช่วงที่ประชากรโลกต่างต้องเว้นระยะห่างทางสังคมจากเพื่อนและครอบครัว 

ผู้บริโภค 48% ในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรใช้โซเชียลมีเดียสำหรับอ่านข่าวการระบาดของโรค จากการรายงานข้อมูลของ GlobalWebIndex ซึ่งหมายถึงแพลตฟอร์มต่างๆต้องมีความรับผิดชอบในเรื่องการป้องกันการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเป็นอันดับแรก ดังนั้นเมื่อการใช้งานพุ่งสูงขึ้นโซเชียลมีเดียมีวิธีการรับมืออย่างไรบ้าง

Facebook
Facebook สร้างศูนย์ข้อมูล Covid-19 ซึ่งเป็นหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่โดดเด่นและมีประโยชน์มากที่สุดของ Facebook ตั้งแต่การแพร่ระบาดของโรคได้เริ่มขึ้น ซึ่งสามารถเข้าถึงได้โดยตรงจากด้านบนของฟีดข่าวหรือจากเมนูหลัก 'ความช่วยเหลือของชุมชน' ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือชุมชนจากการระบาดโดยเฉพาะ
  
Facebook ได้ขยาย 'ฟังก์ชั่นความช่วยเหลือของชุมชน' เป็นศูนย์ข้อมูล coronavirus
ที่มีข้อมูลครบถ้วนและสถิติ coronavirus ในภาษาท้องถิ่นและแสดงการอัพเดทบน Facebook (รูปภาพจาก Facebook)

ศูนย์ข้อมูลเป็นการจัดเรียงข้อมูลการสนทนาส่วนบุคคลในพื้นที่ทั่วไป และแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล ซึ่งรวมถึงจำนวนผู้ป่วย coronavirus
แบบเรียลไทม์ การเสียชีวิตในภูมิภาคและทั่วโลก รวมถึงการสรุปข่าวสั้นล่าสุด Facebook พยายามอย่างมากในการคัดกรองแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือและนำมาแสดงผลบนหน้าฟีดข่าวสารของผู้ใช้งาน ทำให้เป็นเรื่องยากสำหรับผู้ที่เผยแพร่ข้อมูลผิดๆหรือข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ

ซึ่งฟังก์ชั่นส์ที่เป็นเอกลักษณ์ที่สุดคือความสามารถในการ 'ขอหรือเสนอความช่วยเหลือ' ซึ่งมีหน้าเฉพาะที่ผู้ใช้สามารถคัดเลือกฟังก์ชั่นส์ต่างๆได้ เช่น ระยะทางจากตำแหน่งปัจจุบัน และประเภทของการร้องขอ (อุปกรณ์สำหรับทารก อาหาร การขนส่ง เป็นต้น) การออกแบบหน้าตาของฟีเจอร์ (UI) ที่ใช้งานง่าย ทำให้ผู้ต้องการความช่วยเหลือได้ประโยชน์อย่างแท้จริง ตัวอย่างเช่น หากไม่ได้มีรถยนต์ส่วนตัว สามารถเลือกคำขอที่อยู่ใกล้ตัวเองที่สุด เพื่อที่จะแน่ใจได้ว่าสามารถเดินทางไปช่วยเหลือคนที่ใกล้กับเราได้
  ฟีเจอร์ 'ขอหรือเสนอความช่วยเหลือ' ของ Facebook ช่วยให้ผู้ใช้เชื่อมต่อกันในพื้นที่ท้องถิ่นของพวกเขาได้ (รูปภาพผ่าน Facebook)

 
TikTok
TikTok ได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ คือไอคอนรูปโล่ขนาดเล็กบริเวณมุมขวาบนของหน้าฟีด รวมทั้งแถบแบนเนอร์ขนาดเล็กที่ด้านล่าง หากเนื้อหาที่กำลังดูมีแฮชแท็กที่เกี่ยวข้องกับไวรัส - เช่น '# coronavirus ',' #lockdown 'หรือ' #quarantine '
 
วิดีโอ TikTok แสดงแบนเนอร์ข้อมูลที่ด้านล่างหากเนื้อหามีแฮชแท็กที่เกี่ยวข้องกับ coronavirus
เช่น #lockdown หรือ #quarantine (รูปภาพผ่าน TikTok)

ทั้งสองปุ่มนี้ จะลิ้งค์โดยตรงไปยังหน้า Landing Page ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถค้นหาวิดีโอที่เกี่ยวข้องกับการระบาดใหญ่และเป็นแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้จะถูกฟีดขึ้นมาบนสุด
นอกจากนี้ยังอีกสามปุ่ม ได้แก่ "Protect yourself", "Mythbusters" และ "Q&A" ซึ่งลิ้งค์ไปสู่ข้อมูลโดยองค์การอนามัยที่เขียนขึ้นมาเพื่ออธิบายข้อเท็จจริงและคำแนะนำพื้นฐานที่เข้าใจง่าย
  
 
TikTok นำเสนอเนื้อหา Q & A บน Covid-19 เขียนโดยองค์การอนามัยโลก (รูปภาพผ่าน TikTok)

YouTube

แคมเปญ #WithMe ของ YouTube ถือเป็นตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมของแพลตฟอร์มที่เรียกร้องให้ผู้สร้างคอนเทนต์ผลิตเนื้อหาที่มีประโยชน์อย่างแท้จริงกับผู้ชม โดย VDO นี้ผู้ใช้งานสามารถกดเข้าไปเลือกรับชมได้เอง ในขณะเดียวกันข้อมูลข่าวล่าสุดเกี่ยวกับการระบาดใหญ่ จะถูกจัดหมวดหมู่อยู่ในหน้า coronavirus เป็นหมวดหมู่แนะนำที่จะปรากฏในหน้าแรกของเพลย์ลิสต์จาก NHS และข่าวสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงสถานการณ์ระดับชาติและระดับโลก
 
YouTube มีการเผยแพร่ข่าวจากหน่วยงานที่มีชื่อเสียงในหน้าแรกของมัน (รูปภาพผ่าน YouTube)
 
และในทำนองเดียวกันกับแพลตฟอร์มอื่นๆ YouTube ทำการจัดอันดับให้แหล่งข่าวที่มีความน่าเชื่อถือ และข้อมูลจากองค์กรด้านสุขภาพจะปรากฏจะอยู่เป็นอันดับแรก ในผลการค้นหาเรื่อง coronavirus พร้อมด้วยจัดอันดับข้อมูลด้านสุขภาพให้อยู่บนสุดของทุกการค้นหา 
 
ผลการค้า ‘coronavirus’  (ภาพจาก YouTube)
 
Instagram
ในทำนองเดียวกันกับ Facebook, Instagram ได้ทำการรับรองข้อมูลของ coronavirus ที่มีถูกต้อง เมื่อทำการค้นหาคำว่า "coronavirus" หรือ "covid19" จะมีลิงก์โดยตรงไปยังเว็บไซต์ NHS ยิ่งไปกว่านั้นสามารถเข้าไปยังบัญชี WHO และ Unicef ได้โดยตรง ซึ่ง Instagram ที่ได้รับการรับรองข้อมูล จะมีเครื่องหมายสีฟ้า  

Instagram ยังได้เปิดตัวสติกเกอร์ใหม่ ซึ่งสามารถใช้กับฟังก์ชั่นส์ Story เพื่อให้กำลังใจทุกคนในช่วงการเว้นระยะห่างระหว่างสังคมและสร้าง shopping small ในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ ทั้งนี้ Story ที่ติดสติกเกอร์ดังกล่าวจะถูกแสดงอยู่ในหน้าฟีดแรกของผู้ใช้ที่ถูกสร้างมาเพื่อเป็นศูนย์กลางของจิตใจ

และในเดือนมีนาคมได้เปิดตัวสติกเกอร์ Stay Home ซึ่งได้รับการตอบรับและดึงดูดผู้ใช้จากทั่วทุกมุมโลก ในการแบ่งปันชีวิตประจำวันของพวกเขาในขณะที่พวกเขาอยู่บ้านเพื่อความปลอดภัย ทั้งนี้ Hashtag #StayHome มียอดโพสต์กว่า 33.6 ล้านโพสต์ และหลังจากนั้นปล่อยสติกเกอร์ Support Small Business ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ด้วยลูกเล่นการแสดงภาพพร้อมกัน 3 ภาพในการโปรโมทสินค้า ซึ่งมีประสิทธิภาพดีในระดับท้องถิ่นมากกว่าสติกเกอร์ทั่วไปที่มีอยู่ เนื่องจากช่วยส่งเสริมร้านค้าศิลปินและผู้ใช้ที่อาจต้องดิ้นรนในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้
 
 
Instagram ให้ผู้ใช้งานโปรโมทร้านค้าด้วยลูกเล่นของสติกเกอร์ (ภาพจาก Instagram)
 
ที่มา : https://econsultancy.com